วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เทสเคสระบบสมัครสมาชิก ตอนที่2

 กลับมาแล้วค่ะ หลังจากที่ห่างหายไปนานเนื่องจากอาการกังวลเรื่องสถานการณ์โควิด19😂

เอาใหม่ตั้งสติและกลับมาเขียนบทความดีๆเพื่อเป็นแนวทางสำหรับเพื่อนๆ น้องๆ ที่เป็น Software tester ดีกว่า จากครั้งที่แล้ว เราจบกันที่หน้าจอ และ Requirement ของระบบอย่างย่อ สามารถกลับไปดูตอนที่ 1 ได้ที่  URL ตามด้านล่างนี้นะคะ

เทสเคสระบบสมัครสมาชิก ตอนที่1

 https://softwaretesterknowledge.blogspot.com/2021/08/Testcase-Member.html



จากหน้าจอนี้ ครั้งนี้เราจะมาคิดว่า เราจะทำการออกแบบ Scenario ในการทดสอบอย่างไรบ้าง





วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เทสเคสระบบสมัครสมาชิก ตอนที่1

 เชื่อว่าหลายคนคงค้นเคยกับการสมัครสมาชิก ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์หางาน หรือใดๆก็แล้วต่อ

วันนี้ถือโอกาสเอาหน้าจอระบบสมัครสมาชิกของระบบหนึ่งมาให้ลองฝึกเขียนเทสเคสกันดู



ขอบคุณหน้าจอ จาก :https://sites.google.com/site/bc83funds/home 
หมายเหตุ:มีการปรับเพิ่มหน้าจอจากต้นฉบับ


จากหน้าจอนี้ จะออกแบบเทสเคสอย่างไรดี
เราจะมากำหนดตัวอย่าง Requirement อย่างคร่าวๆดังนี้

กำหนดให้

1.รหัสสมาชิกขึ้นต้นด้วย อักษรภาษาอังกฤษ แบ่งเป็น

    V คือสมาชิก VIP

    N สมาชิกทั่วไป

2.ชื่อ-นามสกุลพนักงาน เป็นภาษาไทยเท่านั้น

3.ไม่ต้องระบุคำนำหน้าชือ

4.รหัสประจำตัวประชาชน เป็นตัวเลขเท่านั้น

5.หมู่ที่เป็นตัวเลขเท่านั้น

6.รหัสไปรษณีเป็นตัวเลขเท่านั้น

7.วันที่สมัครสมาชิก Default เป็นวันที่ปัจจุบัน แต่สามารถเลือกเป็นวันที่ย้อนหลังได้

8.วันที่สมัครสมาชิกไม่สามารถเลือกเป็นวันที่ในอนาคตได้

9.จำเป็นต้องกรอกข้อมูลให้ครบทุกฟิลด์

10.ปุ่ม บันทึก คือการบันทึกข้อมูล สมาชิกเข้าไปในระบบ

11.ปุ่ม ยกเลิก คือการยกเลิกบันทึกข้อมูลสมาชิก และจะเคลียร์หน้าจอเป็นค่าว่างทุกฟิลด์

ลองคิดเล่นๆ กันดูนะคะ ว่าจะเขียนเทสเคสยังไงดี 

ไว้คราวหน้า เจอกันค่ะ 


วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เทสเคสการล็อกอินเข้าระบบ[ Login ]

 การล็อกอินเข้าระบบ[ Login ]

หลายคนอาจจะเห็นหน้าจอการlogin เข้าใช้งานระบบ หลายๆครั้ง

ถ้าเราจะเขียนเทสเคสเกี่ยวกับการ Login เข้าใช้งานระบบ เราจะเขียนอย่างไรดีน้าาาา

ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่า Design ของ หน้าจอการ Login นั้นเป็นอย่างไร ตัวอย่าง หน้าจอ login ตามด้านล่างนี้ 


จะเห็นว่า 

 1. มี 2 ฟิลด์ คือ Username , Password 

2. ปุ่มกด [Button] มี 2 ปุ่ม คือ Login ,Forgot password 

จาก 2 ข้อ ด้านบนเรามาช่วยกันวิเคราะห์นะคะ เริ่มต้นจาก 

ฟิลด์  Username , Password 

-  ค่าไหนบ้างที่ระบบต้องการให้กรอกทุกครั้ง 

- ถ้าไม่ระบุค่าที่ระบบต้องการจะแสดงอะไรให้ User หรือ ผู้ใช้งานเห็น

- ระบุค่ามา แต่ไม่ถูกต้อง จะแสดงอะไรให้ User หรือ ผู้ใช้งานเห็น

ปุ่มกด [Button] 

  - แต่ละปุ่ม มีไว้ทำอะไร 

 - กดปุ่ม แต่ละปุ่ม แล้วทำอะไร ใน Step ต่อไป 

 ถ้าเราวิเคราะห์ 2 หัวข้อหลักนี้ได้แล้ว จะทำให้เราเขียน หรือ ออกแบบเทสเคสได้ดี

ตัวอย่างดังนี้นะคะ 

กำหนดให้

1.ตาราง Customer เป็นดังข้างล่าง


2. ตัวอย่างข้อมูลลูกค้า ตามตารางด้านล่าง

ข้อมูลเพิ่มเติม

1) ลูกค้าสามารถกรอกรหัสผ่านผิดได้ 3 ครั้ง

2)ลูกค้ากรอกรหัสผ่านผิด 3 ครั้งติดต่อกันระบบจะทำการ locked ไม่ให้สามารถlogin เข้าใช้งานระบบได้อีก ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อปลดล็อค

ดังนั้นแล้ว จะขอยกตัวอย่างเทสเคส ดังรูปด้านล่าง 



ไว้เจอกันครั้งต่อไปนะคะ จุ๊บปปปปปปป



วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

DOPA 5 Fields กับการเขียนเทสเคส แบบ Verify ความถูกต้องของข้อมูล

ต่อจากครั้งที่แล้วค่ะ DOPA 5 Fields กับการเขียนเทสเคส แบบ Verify ความถูกต้องของข้อมูล

ตามที่เกริ่นไว้ว่าการเขียนเทสเคสนั้น จะมี 2 มุมมอง คือ การ validate data และ verify data

    Verify data คือเมื่อทำการกรอกข้อมูลมาอย่างถูกต้องแล้ว แล้วข้อมูลมีอยู่จริงในระบบไหม 

เช่น นางสาวสวยงาม ไทยแท้ มีอยุ่จริงในระบบ DOPA หรือไม่ ถ้ามีอยู่จริง จะต้องตรวจสอบข้อมูลส่วนอื่นๆด้วยหรือไม่ เช่น วันเดือนปีเกิด Laser ID หลังบัตร 

หน้าจอ DOPA

หน้าจอ DOPA ตามรูปภาพด้านบน จากการวิเคราะห์ เราสามารถเขียนเทสเคสในมุมการ Verify data โดยมี Scenario หลักๆดังนี้  

    1.ตรวจสอบความถูกต้องชื่อ-สกุล

    2.ตรวจสอบความถูกต้อง  เลขบัตรประชาชน

    3.ตรวจสอบความถูก เลขหลังบัตรประชน[Laser ID]

    4.ตรวจสอบวันหมดอายุของบัตรประชาชน

    5.ตรวจสอบวัน/เดือน/ปี เกิดของลูกค้า


ในการเทสนั้น นอกจากจะทำการเขียนเทสเคสได้อย่างครอบคลุมแล้ว จะต้องรู้ด้วยว่า การจะเทสในแต่ละเทสเคสนั้นเราจะ เตรียม data ในการทดสอบอย่างไร จากตัวอย่างเทสเคสด้านบน เพื่อนๆลองนึกดูนะคะว่าจะต้องเตรียม data อย่างไรน้าาาาาา

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

DOPA 5 Fields กับการเขียนเทสเคส

 จ้าาา มาแล้ว มาต่อจากตอนที่แล้วนะคะ ที่เราให้ข้อมูลเกี่ยวกับ DOPA ไปบ้างแล้ว

ทีนี้ ถ้าเราจะเขียนเทสเคส นี่เราจะเขียนยังไงกันดี  ขอเพิ่มเติมรายละเอียดหน้าจอกันนิดหน่อยนะคะ เพื่อให้มี Requirement มากขึ้นกว่าเดิม โดยจะเพิ่มข้อมูลการกรอกข้อมูลประเภท วัน/เดือน/ปี ให้ 


หน้าจอ DOPA

จากหน้าจอ DOPA ตามด้านบน เรามาวิเคราะห์ว่าเราจะเทสอะไรบ้าง
ขอแบ่งออกเป็นของหมวดใหญ่ๆด้วยกันคือ 
1) Validate data ตรวจสอบการกรอกข้อมูลว่าลูกค้าทำการกรอกข้อมูลมาถูกหรือไม่เช่น
     - ระบบแจ้งว่า ต้องกรอกชื่อ สกุล เป็นภาษาไทยเท่านั้น  นั่นหมายความว่าถ้ากรอกด้วยภาษาอื่นๆมา ระบบจะไม่รองรับ และจะต้องแจ้ง Error message หรือข้อความแจ้งเตือนลูกค้าให้ถูกต้อง 
     - วัน/เดือน/ปีเกิด ระบบแจ้งว่าต้อง กรอกข้อมูลเป็น วัน 2 หลัก ,เดือน 2 หลัก ปี 4 หลัก เป็น พ.ศ. เช่น 14/12/2524  ดังนั้น หากลูกค้ากรอกไม่ตรงกับรูปแบบที่กำหนดไว้ ระบบต้องแจ้ง Error message หรือข้อความแจ้งเตือนลูกค้าให้ถูกต้อง เพื่อที่ลูกค้าจะได้ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง
 
2) Verify data คือเมื่อทำการกรอกข้อมูลมาอย่างถูกต้องแล้ว แล้วข้อมูลมีอยู่จริงในระบบไหม 
เช่น นางสาวสวยงาม ไทยแท้ มีอยุ่จริงในระบบ DOPA หรือไม่ ถ้ามีอยู่จริง จะต้องตรวจสอบข้อมูลส่วนอื่นๆด้วยหรือไม่ เช่น วันเดือนปีเกิด Laser ID หลังบัตร 

   อ่าาาา มาเริ่มกันที่ส่วนแรกเลยนะคะ Validate data ตรวจสอบการกรอกข้อมูลว่าลูกค้าทำการกรอกข้อมูลมาถูกหรือไม่

Validate data ตรวจสอบการกรอกข้อมูล ในที่นี้จะ มีทั้งหมด 5 Scenario ได้แก่ 
ตรวจสอบการกรอกชื่อ-สกุล เป็นภาษาอังกฤษ
ตรวจสอบการกรอก วัน/เดือน/ปีเกิด
ตรวจสอบการกรอก เลขบัตรประชาชน
ตรวจสอบการกรอก เลขหลังบัตรประชน[Laser ID]
ตรวจสอบการกรอก วันหมดอายุบัตร

ตัวอย่างการเขียนเทสเคส 


Dopa Test case



 


วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564

DOPA 5 Fields คืออะไร

 DOPA 5 Fields คืออะไร 

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ  ก่อนนะคะ
    DOPA:ย่อมาจาก Department Of Provincial Administration กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ส่วนใครอยากรู้รายละเอียดว่าหน่วยงานนี้เขาทำอะไร อันนี้ลองไปค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.dopa.go.th เลยจ้าาาา 
    ต่อจากตอนที่แล้ว ที่ได้นำเสนอเรื่อง การเขียนเทสเคส เรื่องการค้นหาข้อมูล โดยได้นำเอาหน้าจอ ตัวอย่างหน้าจอ การตรวจสอบสถานะของ โครงการเราชนะ ซึ่งในนั้นจะให้เราระบุข้อมูล ส่วนตัว ถ้าสังเกตุดีๆ มันคือข้อมูลจริงของเราบนบัตรประชาชนนั่นเองค่ะ

แล้วเจ้า 5 Fields ที่ว่านี้ประกอบด้วยอะไรบ้างเอ่ย

5 Fields ที่ว่านี้ประกอบด้วย  

- คำนำหน้าชื่อ

- ชื่อ

- นามสกุล

- วัน/เดือน/ปีเกิด

- เลขบัตรประชาชน

- เลขหลังบัตรประชน[Laser ID]

- วันหมดอายุบัตร

เอ๋.... ทำไมเกิน 5 fields หล่ะ ตกลงยังไงกันแน่น้าาาาา  ลองคิดเล่นๆกันดูนะคะ และคราวหน้าจะพาเขียนเทสเคสกันค่ะ 


Credit :
 dopa.go.th
 rights.เราชนะ.com 
 bot.or.th


วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564

ออกแบบเทสเคสเรื่อง การค้นหาข้อมูล [ Searching] ตอนที่ 2

 มาแล้วๆๆ หายไปซะหลายวันเลย พึ่งกลับมาจาก ตจว ค่ะ 

ว่าแล้วมาต่อกันเลยดีกว่า

จากตอนที่ 1 เรามีหน้าจอ และได้วิเคราะห์ถึงความต้องการของระบบเบื้องต้นแล้วนะคะ ทีนี้เรามาทำการ เขียนเทสเคสกันดีกว่า มาเลยๆๆ

Test Scenario จะมีประมาณ 3 หัวข้อ ได้แก่ 

1) กรอกข้อมูลไม่ครบ

    - Test case ที่เกี่ยวข้องกับ Test Scenario จะมีประมาณ 5 หัวข้อ 

-ไม่กรอกข้อมูลใดๆ

-กรอก CID ไม่ครบ 13 หลัก

-ไม่กรอกข้อมูล ข้อมูลชื่อภาษาไทย 

-ไม่กรอกข้อมูล นามสกุลภาษาไทย 

-ไม่กรอกข้อมูล วัน/เดือน/ปีเกิด 

2)กรอกข้อมูลไม่ถูกต้อง

   - Test case ที่เกี่ยวข้องกับ Test Scenario จะมีประมาณ 4 หัวข้อ 

-กรอก CID ครบ 13 หลัก แต่ไม่ถูกต้อง

-ข้อมูลชื่อภาษาไทย ไม่ถูก

-ข้อมูลนามสกุลภาษาไทย ไม่ถูก

-กรอกข้อมูล วัน/เดือน/ปีเกิด ไม่ถูกต้อง

3)กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วน

  - Test case ที่เกี่ยวข้องกับ Test Scenario จะมีประมาณ 1 หัวข้อ 

-กรอกข้อมูลถูกต้องครบถ้วน

รวมๆแล้วมี 10 เคสถ้วนค้าาา 


ภาพนี้จะ hide Test_no, Test status ไว้ เพื่อจะได้เห็นรายละเอียดของ Test case ได้ชัดขึ้นค่ะ



ส่วนใครคิดได้เยอะกว่านี้ ลองมาแชร์กันดูนะคะ 

เทสเคสระบบสมัครสมาชิก ตอนที่2

 กลับมาแล้วค่ะ หลังจากที่ห่างหายไปนานเนื่องจากอาการกังวลเรื่องสถานการณ์โควิด19😂 เอาใหม่ตั้งสติและกลับมาเขียนบทความดีๆเพื่อเป็นแนวทางสำหรับเ...